นวัตกรรมธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียง Sufficiency Groundwater bank (SGB) เป็นนวัตกรรม เก็บน้ำฝนลงสู่ใต้ดิน เพื่อให้น้ำที่ไหลอยู่บนผิวดินลงไปเก็บไว้ที่ใต้ดิน โดยบ่อประดิษฐ์ ไม่ใช้วัสดุสังเคราะห์ที่ก่อให้เกิดมลภาวะกับน้ำใต้ดิน วัสดุหาง่าย มีในธรรมชาติทุก ๆ ท้องถิ่นและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นนวัตกรรมที่ทำได้ง่ายในครัวเรือน ไม่ซับซ้อน ทำได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ
ประสิทธิภาพของบ่อนวัตกรรมธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียง
Sufficiency Groundwater bank (SGB)
จะต้องวางตำแหน่งบ่อให้ทุกบ่อเชื่อมโยงซึ่งกันและกันเป็นเครือข่าย
Network สมารถรับน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และทุกบ่อจะต้องส่งน้ำเชื่อมโยงซึ่งกันและกันทางใต้ดิน ที่สำคัญตำแหน่งบ่อนวัตกรรม ถ้าวางได้เหมาะสม ตามสภาพพื้นที่แต่ละพื้นที่จะสามารถเชื่อมโยงเติมน้ำให้กับแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่มีอยู่เดิมได้ เช่น ห้วย หนอง คลอง บึง หรือ บ่อเก็บน้ำที่ขุดขึ้นใหม่ จะเป็นเส้นทางลำเลียงน้ำที่มีอยู่ในธรรมชาติ เข้าสู่ภาคการเกษตรได้อย่างเป็นรูปธรรม เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการใช้ธรรมชาติบำบัดภัยแล้ง

บ่อประดิษฐ์ครัวเรือน
การวางตำแหน่งบ่อธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียง Sufficiency Groundwater bank ( SGB ) ที่เหมาะสมตามหลักวิทยาศาสตร์ เพื่อเก็บน้ำฝนที่ผิวดินให้ลงไปสู่ชั้นใต้ดินบริเวณชั้น Zone Of Aeration and Saturation เป็นการสร้างความสัมพันธ์ของน้ำบนดินลงสู่ชั้นใต้ดิน เป็นบ่อประดิษฐ์ด้วยหลักการทางธรรมชาติ ระหว่างน้ำ , อากาศ, และดิน คือ การทำให้อากาศออกจากดินได้และน้ำจะลงไปแทนที่อากาศในชั้นใต้ดินที่ชั้น Top soil ที่ความลึกอยู่เหนือดินเหนียว จึงเกิดความชุ่มชื้นกับเปลือกโลกชั้นบน
บ่อแบบร่องระบายน้ำไร้ท่อพร้อมบ่อประดิษฐ์ในชุมชน
บ่อแบบร่องระบายน้ำไร้ท่อพร้อมบ่อประดิษฐ์ในชุมชน เมื่อน้ำฝนตกลงสู่พื้นดินเป็นการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ของตนเองก่อนที่น้ำจะไหลไปรวมสะสมเพิ่มปริมาณมากขึ้นซึ่งยากแก่การบริหารจัดการ


ระบบการผันน้ำลงสู่ใต้ดิน
เพื่อเพิ่มศักยภาพแหล่งน้ำต้นทุน ป้องกันการกัดเซาะถนนขวางทางน้ำ ป้องกันน้ำท่วม น้ำแล้ง สร้างเครือข่ายน้ำใต้ดิน ตรวจสอบคุณภาพ ปริมาณน้ำใต้ดิน แก้ปัญหาบ่อบาดาลแห้ง รักษาสิ่งแวดล้อมมีน้ำอุปโภค บริโภค และทำการเกษตรตลอดทั้งปี พัฒนาคุณภาพชีวิตสร้างเศรษฐกิจให้ชุมชน มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน